ตัวอย่างเกมคณิตศาสตร์

เกม 24 เป็นเกมคณิตศาสตร์ชนิดหนึ่ง ผู้เล่นจะได้รับเลข 4 จำนวน ซึ่งมีค่าตั้งแต่ 1 ถึง 9 (ห้ามเป็นเลข 0 แต่เป็นเลข 10,20 ฯลฯ ได้) และจะต้องใช้การบวก, ลบ, คูณ หรือหารเพื่อให้ได้ค่าเป็น 24 เช่น 7.5.8.6 สามารถทำได้ดังนี้ (7-5=2)(6/2=3)(8*3=24)

นอกจากนี้ ในการแข่งขันจริง อาจจะมีการกำหนดเลขมา 4 ตัว พร้อมกับการกำหนดคำตอบอื่นที่ไม่ใช่ค่า 24 โดยอาจเป็นการสุ่มตัวเลขของคำตอบ เรียก Random answer

ตัวอย่างวิธีการสร้างตั้งแต่ 1 ถึง 23

  • 0 = 44 − 44 = 4 − 4 + 4 − 4=(4/4)-(4/4)=(4+4)*(4-4)
  • 1 = 44/44 = 4/4 × 4/4
  • 2 = 4/4 + 4/4
  • 3 = (4 + 4 + 4)/4
  • 4 = 4× (4 − 4) + 4
  • 5 = (4×4 + 4)/4
  • 6 = 4×.4 + 4.4 = 4 + (4+4)/4
  • 7 = 44/4 − 4 = 4 + 4 − (4/4)
  • 8 = 4 + 4.4 − .4 = 4 + 4 + 4 – 4= sqrt (4)+sqrt(4)+sqrt(4)+sqrt(4)
  • 9 = 4 + 4 + 4/4
  • 10 = 44/4.4 = 4 + sqrt (4) + sqrt (4) + sqrt (4)
  • 11 = 4/.4 + 4/4
  • 12 = (44 + 4)/4
  • 13 = 4! − 44/4
  • 14 = 4× (4 − .4) − .4
  • 15 = 44/4 + 4
  • 16 = .4× (44 − 4) = 4×4×4 / 4=4+4+4+4
  • 17 = 4×4 + 4/4
  • 18 = 44×.4 + .4 = 4×4 + 4 / sqrt (4)
  • 19 = 4! − 4 − 4/4
  • 20 = 4× (4/4 + 4)
  • 21 = 4! – 4 + (4/4)
  • 22 = (4 * 4) + (4 + sqrt (4))
  • 23 = 4! – [4^(4 – 4)]

ต่อมาได้มีนักเรียนโรงเรียนภูเขียวนำไปทำโครงงานคณิตศาสตร์เพื่อนำเสนอแก่นักเรียนคนอื่น

ซูโดะกุ (ญี่ปุ่น: 数独 sūdoku ?) เกมปริศนาตัวเล ข ที่ผู้เล่นต้องเลือกใส่ หมายเลขตั้งแต่ เลข 1 ถึงเลข 9 โดยมีเงื่อนไขว่าในแต่แถวและแต่ละหลักตัวเลขต้องไม่ซ้ำกัน ตารางซูโดะกุจะมี 9×9 ช่อง ซึ่งประกอบจากตารางย่อย 9 ตาราง ในลักษณะ 3×3 แบ่งแยกกันโดยเส้นหนา และในแต่ละตารางย่อยจะต้องมีตัวเลข 1 ถึง 9 เช่นเดียวกัน เมื่อเริ่มเกมจะมีตัวเลขบางส่วนให้มาเป็นคำใบ้ และผู้เล่นจะต้องใส่ทุกช่องที่เหลือให้ครบ โดยตามเงื่อนไขว่าแต่ละตัวเลขในแต่ละแถวและหลักจะใช้ได้ครั้งเดียว รวมถึงในแต่ละขอบเขตตารางย่อย การเล่นเกมนี้จำเป็นต้องใช้ความสามารถในด้าน ตรรกะ และความอดทนรวมถึงสมาธิ เกมนี้เริ่มต้นเป็นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2522 ในชื่อ นัมเบอร์เพลส (Number Place) แต่เป็นที่นิยมและโด่งดังในประเทศญี่ปุ่น ภายใต้ชื่อ ซูโดะกุ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 และเป็นที่นิยมทั่วโลกอีกครั้งในปี พ.ศ. 2548

ในปัจจุบันมีการเล่นตามคอลัมน์ในหนังสือพิมพ์ เช่นในหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ โดยมีระดับ ง่าย ปานกลาง ยาก และยากมาก หรือคอลัมน์ท้าทายท้ายเล่มของวารสาร Reader’s Digest ฉบับภาษาไทย หนังสือรวมเล่ม โทรศัพท์มือถือ เกมกด คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือเล่นบนอินเทอร์เน็ตตามเว็บไซต์ต่างๆ

ที่มาของชื่อ

ชื่อ ซูโดะกุ ในภาษาญี่ปุ่น เป็นคำย่อจากคำว่า ซูจิวะโดะกุชินนิคางิรุ (数字は独身に限る) มีความหมายว่า ตัวเลขต้องมีเพียงเลขเดียว ชื่อของซูโดะกุ มีการเรียกชื่อแตกต่างกันในแต่ละภาษา ตั้งแต่ ซูโดะกุ ซูโดกุ ซูโดกู หรือ ซูโดคู

นิตยสารในเครือ ปริศนา ของบริษัท สำนักพิมพ์อาทร จำกัด เคยเรียกชื่อเกมนี้ว่า ปริศนา 1 ถึง 9 เนื่องจากต้องเติมตัวเลขตั้งแต่ 1 ถึง 9 ลงในตาราง และอาจเรียกว่า ปริศนา 1 ถึง 7, 1 ถึง 12, 1 ถึง 16, 1 ถึง 25 ฯลฯ ตามจำนวนตัวเลขที่จะต้องเติมในรูปแบบต่างๆ

ซูโดะกุในรูปแบบต่าง ๆ

จากการเล่นพื้นฐานต่าง ๆ ของซูโดะกุแบบปกติแล้ว นอกจากนี้ ยังมีลูกเล่นต่าง ๆ ของซูโดะกุทำให้เพิ่มลูกเล่นมากขึ้น และมีรูปแบบต่าง ๆ คือ

  • ขอบเขตการเติมตัวเลข ตารางซูโดะกุแบบมาตรฐาน จะเป็นแบบ 9×9 นอกจากนี้ ยังมีตารางขนาดที่ต่างไปคือ แบบ 4×4 6×6 12×12 16×16 และ 25×25 ในแบบ 4×4 และ 6×6 นั้น เป็นตารางซูโดะกุที่ง่ายและเพื่อทำความเข้าใจในการเล่นพื้นฐานสำหรับเด็กและผู้ที่เริ่มเล่น ตาราง 4×4 จะต้องเติมตัวเลข 1-4 โดยไม่ซ้ำกัน ถ้าเป็น 6×6 จะเติมตัวเลข 1-6 โดยไม่ซ้ำกัน สำหรับตารางที่ใหญ่กว่า 9×9 ก็จะต้องเติมจำนวนตัวเลขที่มากขึ้น โดยไม่ซ้ำกันทั้งแนวตั้ง แนวนอน และตารางย่อย และขนาดมีสูงสุดถึง 49×49
  • ซูโดะกุเอกซ์ (Sudoku X) เป็นตารางซูโดะกุที่คล้ายกับกติกาแบบปกติทุกอย่างแล้ว นอกจากจะเติมเลขให้แนวตั้ง แนวนอน และตารางย่อยไม่ให้ซ้ำกันแล้ว ยังต้องเติมเลขแนวทแยงที่ตัดผ่านตาราง (เป็นรูปตัว X) โดยไม่ให้ซ้ำกันอีกด้วย
  • ซูโดะกุคู่คี่ (Evnt/Odd Sudoku) เป็นตารางซูโดะกุที่มีการแรเงาเป็นช่องโดยแยกชัดว่า ช่องที่ถูกแรเงานั้นต้องเติมเป็นเลขคู่หรือเลขคี่ แล้วแต่ตามกติกาที่กำหนด
  • ซูโดะกุบวกเลข หรือ คิลเลอร์ซูโดะกุหรือ ซูโดะกุแบบผลรวม (Killer Sudoku) เป็นซูโดะกุที่รวมกับคักกุโระเข้าด้วยกัน ในตาราง จะมีช่องตามสีหรือเส้นประและมีตัวเลขจำนวนหนึ่งอยู่บนมุมซ้ายของเส้นประ ซึ่งแสดงว่า เลขที่เติมในรอบเส้นประ (2 ช่องขึ้นไป) จะต้องรวมกันให้ได้เลขที่อยู่ด้านบน เช่น เส้นประที่ล้อมรอบสองช่อง โดยมีเลข 3 กำกับ หมายความว่า สองช่องที่มีเส้นประล้อมรอบอยู่จะต้องเติมเลข 1 กับ 2 ซึ่งเท่ากับ 3 ซูโดะกุรูปแบบนี้ก็คล้าย ๆ กับซูโดะกุแบบปกติ แต่มีการคำนวณมาเกี่ยวข้อง
  • ซูโดะกุมากกว่า/น้อยกว่า (Comparison Sudoku) มีลักษณะที่แสดงเครื่องหมายมากกว่าหรือน้อยกว่าตรงเส้นตาราง โดยที่ต้องเติมตัวเลขให้มากกว่าหรือน้อยกว่าช่องถัดไป
  • จิ๊กซอว์ซูโดะกุ (Jigzaw Sudoku) กรอบตารางที่ใส่เลข 1-9 จะเป็นรูปที่บิดเบือนคล้ายกับชินส่วนของจิ๊กซอว์ หมายความว่า กรอบตารางที่บิดเบือนจะต้องเติมเลข 1-9 โดยไม่ซ้ำกัน
  • ไฮเปอร์ซูโดะกุ (Hypersudoku) ภายในตารางจะมีช่องแรเงา 9×9 ข้ามเส้น โดยมีกติกาว่า ตารางแรเงา 9×9 ก็ต้องเติมเลข 1-9 โดยไม่ซ้ำกันเช่นกัน
  • ซูโดะกุแบบตารางซ้อน เป็นตาราง 9×9 2-5 ตารางทับซ้อนกัน โดยส่วนที่ทับซ้อนจะเป็นคำตอบเดียวกันกับตารางที่ทับซ้อนกันอยู่ ซูโดะกุแบบตารางซ้อนนี้เป็นที่รู้จักในชื่อของ “ซามูไร ซูโดะกุ” (Samurai Sudoku)